วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ หนึ่ง


-->
ฉันผ่านเข้าไปในประตูรั้วของโรงงานในวันนี้เช้าตอน 7.30 นาฬิกา และเมื่อมองไปยังที่จอดรถฝั่งตรงข้ามฉันก็มองเห็นรถเมอร์ซีเดส สีเลือดหมูจอดอยู่ข้างๆตัวโรงงานติดกับสำนักงาน และที่สำคัญมันจอดอยู่ในที่จอดรถของฉัน จะมีใครที่จะสามารถทำเช่นนี้ได้นอกจาก นาย บิล พีซ ผู้ซึ่งไม่เคยสนใจเลยว่าที่จอดรถที่เหลือนั้นว่างอยู่แทบทั้งหมด ณ เวลานั้น และไม่เคยสนในเลยว่ายังมีที่จอดรถอีกมากมายจัดเอาไว้สำหรับ ผู้มาเยือนแต่ไม่เลยเขาไม่เลือกจอดรถของเขาในที่ว่างเหล่านั้น แต่ บิล กลับจอดรถในที่จอดรถขอบฉัน แต่เอาล่ะ เขาเป็นถึงรองประธานแผนก และตัวฉันก็เป็นเพียงแค่ผู้จัดการโรงงาน ดังนั้นฉันก็คิดว่าเขาสามารถจอดรถเมอร์ซีเดสเส็งเคร็งของเขาที่ไหนก็ได้ที่เขาต้องการ
และฉันก็จอดรถ บูอิค ของฉันข้างกับรถของเขา (ในที่จอดรถที่ระบุไว้ว่า ผู้คุม”) ฉันมองไปที่ทะเบียนรถของเขาและก็คิดว่ารถคันนี้ต้องเป็นรถของบิลแน่ๆเพราะว่ามีป้ายติดไว้ว่า หมายเลขหนึ่งแต่ตามที่พวกเรารับทราบกันดีอยู่แล้วว่ามันเป็นคำที่บิลแสวงหาอยู่ตลอด เขาต้องการที่จะมีบทบาทใน ซี อี โอ และฉันก็ต้องการเช่นกัน แต่แย่หน่อยที่ฉันยังไม่มีโอกาสในตอนนี้ คลิคที่นี่เพื่ออ่านฉบับเต็มครับ


วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เกี่ยวกับตัวผู้เขียน

-->
อีลี โกลแรทท์ ผู้นี้เป็นผู้ที่ทำการต่อสู้มากว่าสิบปีเพื่อที่จะทำการเปลี่ยนแปลงการทำการผลิตจากศิลป์ให้เป็นศาสตร์ ชื่อเสียงของเขาในฐานะที่เป็นผู้ล้มล้างความคิดที่ยึดติดกันมาแต่ดั้งเดิมซึ่งเริ่มต้นในปี 1979 เมื่อเขาได้นำระบบการจัดตารางเวลาโดยใช้คอมพิวเตอร์มาใช้แทนที่การทำตารางเวลาแบบจำกัดแบบเดิมที่ไม่ได้ผล
ผลงานชิ้นนี้ของเขานำไปสู่การรับรู้ความจริงที่ว่ามาตรการที่กำลังใช้อยู่ในพื้นที่การผลิตของโรงงานนั้นเป็นอุปสรรคใหญ่ที่ขัดขวางการปรับปรุงให้ดีขึ้น และการก้าวไปสู่การพัฒนาในขั้นต่อไปอย่างสิ้นเชิง แต่เมื่อเขาได้ทำการโจมตีว่า การทำบัญชีต้นทุนเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่งของศักายภาพในการผลิตแทนที่เจาจะได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรง แต่ตรงกันข้ามเขากลับได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นทั้งจากบุคคลในวงการผลิตและในวงการด้านการเงิน บริษัทมากมายในปัจจุบันนี้กำลังละทิ้งประสิทธิผลและการตั้งคำถามแต่กลับใช้บัญชีต้นทุนในการทำการตัดสินใจแทน ทุกวันนี้กระบวนการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของ อีลี กำลังเป็นที่รับรู้และยอมรับกันมากขึ้นในฐานะที่เป็นแนวทางที่มีพลัง และสามารถนำไปใช้ร่วมกับแนวทางอื่นๆได้อย่างสอดคล้องเช่น แนวทาง เอ็ม อาร์ พี, จัสท์ อิน ไทม์, และการควบคุมกระบวนการโดยใช้วิธีทางสถิติ เป็นต้น
ท่านผู้อ่านบางคนอาจจะมองหนังสือเรื่อง เป้าหมายซึ่งเป็นหนังสือวิชาการทางด้านกระบวนการผลิตเล่มนี้ว่าเป็นนวนิยาย หรือบางคนอาจจะมองว่าเป็น นิยายรัก ก็ย่อมได้ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแต่ละคน และหนังสือเล่มนี้น่าจะเป็นหนังสือขายดีในตลาดมืดสำหรับมหาวิทยาลัย โรงงาน หรือแม้แต่ในห้องประชุมของผู้บริหารก็ย่อมได้

วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

บทนำ


บทนำในการตีพิมพ์ครั้งที่สอง



หนังสือเรื่องเป้าหมายเล่มนี้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และ การศึกษา ข้าพเจ้ามีความเชื่อว่าคำทั้งสองคำนี้ได้มีการนำไปใช้ในทางที่ผิดจากความหมายดั้งเดิมในหลายแง่มุม สำหรับข้าพเจ้าและรวมถึงนักวิทยาศาสตร์ผู้ทรงคุณวุฒิอีกหลายๆท่านแล้ว วิทยาศาสตร์ไม่ได้เกี่ยวกับความลับของธรรมชาติหรือแม้กระทั่งเกี่ยวกับความจริงเลย วิทยาศาสตร์เป็นเพียงวิธีการที่เราใช้ในการทดลองและวางสมมติฐานเล็กๆน้อยๆที่สามารถอธิบายได้โดยผ่านการใช้ตรรกศาสตร์แบบเข้าใจง่ายๆในการค้นหาที่มาและการคงอยู่ของปรากฎการณ์ธรรมชาติที่มีอยู่มากมาย ...สนใจอ่านฉบับภาษาไทย ได้ที่นี ครับ ราคาพิเศษ หรือต้องการฉบับ ภาษาอังกฤษ คลิกที่นี่ ครับ

กฎการอนุรักษ์พลังงานของวิชาฟิสิกส์ก็ไม่ใช่ความจริงเช่นกัน แต่มันเป็นเพียงสมมติฐานที่สามารถใช้ได้ในการอธิบายปรากฎการณ์ธรรมชาติที่มีมากมายมหาศาล สมมติฐานดังกล่าวนี้ไม่เคยที่จะสามารถพิสูจน์ได้เลยแม้ว่ามันจะสามารถใช้อธิบายปรากฎการณ์ธรรมชาติได้มากมายแต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันมีความเป็นสากลที่สามารถใช้ได้ทั่วไป ในอีกทางหนึ่ง มันสามารถที่จะได้รับการล้มล้างได้ถ้าหากว่ามีปรากฎการณ์ใดปรากฎการณ์หนึ่งที่สมมติฐานดังกล่าวนี้ไม่สามารถใช้อธิบายได้ การล้มล้างดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าสมมติฐานนั้นจะไม่สามารถใช้ได้อีกเลย แต่มันเป็นการชี้ให้เห็นว่าเราต้องการสมมติฐานอันใหม่ที่สามารถใช้อธิบายได้ดีกว่าอันเดิม ที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นกรณีศึกษาหนึ่งที่สมมติฐานของกฎการอนุรักษ์พลังงานได้ถูกแทนที่โดยสมมติฐานในการอนุรักษ์พลังงานและมวลสารของไอน์สไตน์ที่ความสามารถใช้ในการอธิบายได้ดีกว่าและเป็นสากลมากกว่า และสมมติฐานดังกล่าวของไอน์สไตน์ก็ไม่ใช่ความเป็นจริงตลอดไปเช่นเดียวกับการที่สมมติฐานเดิมที่ถูกล้มล้างไปก็ไม่ใช่ความจริงเช่นกัน


อย่างไรก็ตาม เราได้จำกัดการให้ความหมายแก่คำว่าวิทยาศาสตร์ไว้เพียงแต่ที่เราเลือกที่จะสนใจเท่านั้น และเป็นการประกอบกันของปรากฏการณ์ธรรมชาติที่จำกัดเท่านั้น เราอ้างถึงวิทยาศาสตร์เมื่อเราเข้าไปเกี่ยวข้องกับวิชา ฟิสิกส์ เคมี หรือ ชีววิทยา เท่านั้น เราควรจะตระหนักด้วยว่ายังมีปรากฎการณ์ธรรมชาติอีกมากมายที่ไม่สามารถอธิบายได้โดยใช้วิชาต่างๆดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่นปรากฏการณ์ที่เราพบเห็นได้ในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรากฏการณ์ในองค์กรอุตสาหกรรม ถ้าหากปรากฏการณ์เหล่านี้ไม่ใช่ ...... สนใจอ่านฉบับเต็ม เป็นภาษาไทย ได้ที่นี่ ครับ ราคาพิเศษ หรือต้องการ ฉบับภาษาอังกฤษ คลิกที่นี่ ครับ






The Goal Book Thai version Intro...


Synopsis


Over 2 million copies sold! Used by thousands of companies and hundreds of business schools! Required reading for anyone in the Theory of Constraints. This book, which introduces the Theory of Constraints, is changing how America does business. The Goal is a gripping, fast-paced business novel about overcoming the barriers to making money. You will learn the fundamentals of identifying and solving the problems created by constraints. From the moment you finish the book you will be able to start successfully addressing chronic productivity and quality problems.
About the Author:
One of the world’s most sought after business leaders – author and educator, Dr. Eli Goldratt. Eli Goldratt had been described byFortune Magazine as a “guru to industry” and by Business Week as a “genius.” His charismatic, stimulating, yet sometimes unconventional style has captured the attention of audiences throughout the world. Eli is a true thinker who provokes others to think.
Eli Goldratt is the creator of the Theory of Constraints (TOC) and is the author of 8 books, including the business best sellers The Goal,It’s Not Luck, and Critical Chain. Goldratt’s Theory of Constraints is used by thousands of companies, and is taught in hundreds of colleges, universities, and business schools. His books have sold over 3 million copies and have been translated into 23 languages. Goldratt’s fascinating work as an author, educator and business pioneer had resulted in the promulgation of TOC into many facets of society and has transformed management thinking throughout the world....click here for more